ประวัติความเป็นมาของสถานีวิจัยดอยปุย พิมพ์ อีเมล

พลับเพลาที่ประทับทรงเก๋งจีน

พ.ศ. 2506 คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เริ่มดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการลุ่มน้ำบนภูเขาขึ้น โดยเริ่มจากงานที่ "ห้วยคอกม้า" ดอยปุย จ.เชียงใหม่

พ.ศ. 2507 รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการลุ่มน้ำขึ้น และคณะกรรมการได้แต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์เทียม คมกฤส คณบดีคณะวนศาสตร์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการ โดยเลือกพื้นที่ดำเนินการบริหารลุ่มน้ำห้วยแม่ไนเป็นลุ่มน้ำตัวอย่างการ ดำเนินงานจัดการลุ่มน้ำ

พ.ศ. 2508

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มอบหมายให้รองศาสตราจารย์อรรถ บุญนิธี และศาสตราจารย์ปวิณ ปุณศรี ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานทางด้านพืชเน้นเกี่ยวกับไม้ผลยืนต้น เนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นพืชที่มีคุณสมบัติทดแทนไม้ป่าในแง่ของการอนุรักษ์ ต้นน้ำลำธารได้ โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการศึกษาไม้ผล" ในโครงการจัดการลุ่มน้ำห้วยแม่ไน จ.เชียงใหม่ ทำการทดลองปลูกพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาว เพื่อประโยชน์ในการหาทางส่งเสริมให้ชาวเขาได้ปลูกเป็นอาชีพ


free betting tips uk oddslot.co.uk professional betting picks uk

พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช เสด็จฯ ไปเยี่ยมหมู่บ้านชาวเขาและได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200,000 บาท ซื้อสวนผลไม้ และใช้ชื่อว่า "สวนสองแสน" สืบมาจนปัจจุบัน

สถานี วิจัยดอยปุยตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย บนเทือกเขาดอยปุย ถ.ศรีวิชัย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 อยู่ตรงข้ามกับ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์

ปัจจุบันมีพื้นที่แปลงทดลอง 3 แปลง ดังนี้

สวนบวกห้า

ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีพื้นที่ทั้งหมด 39 ไร่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานสถานีชื่อ “อาคารเทียม คมกฤส” สโมสร บ้านรับรอง บ้านพักเจ้าหน้าที่และคนงาน ในส่วนของบริเวณแปลงทดลองทดลองซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่จะประกอบไปด้วยอาคารห้องปฏิบัติการห้องเก็บพัสดุ โรงเรือนต่างๆ แปลงทดลองพืชล้มลุกและแปลงไม้ผลยืนต้น

สวนสองแสน

ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 มีพื้นที่ทั้งสิ้น 119 ไร่ 2 งาน 2.5 ตารางวา โดยเป็นพื้นที่ซึ่งใช้เป็นแปลงทดลอง 74 ไร่ 1 งาน97.5 ตารางวา สวนนี้นับเป็นสวนประวัติศาสตร์ของการเกษตรบนที่สูงคือเป็นสวนที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน “200,000 บาท (สองแสนบาท)” เมื่อปี พ.ศ. 2512 เพื่อทรงสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาบนที่สูง เพื่อการ จัดหาพื้นที่เพิ่มเติมให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินการศึกษาวิจัย โดยจัดซื้อสวนผลไม้ของชาวบ้านเพื่อใช้พัฒนาเป็นพื้นที่ในการวิจัย ณ สถานีวิจัยดอยปุย ซึ่งต่อมาเรียกชื่อพื้นที่ดังกล่าวนี้ว่า “สวนสองแสน” ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสถานีวิจัยดอยปุย ซึ่งถือเป็นสถานีวิจัยแห่งแรกและแห่งเดียวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพื้นที่ให้สนองพระราชดำริการดำเนินงาน ของ มูลนิธิโครงการหลวง

ปัจจุบันแปลงทดลองส่วนใหญ่ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาทดลองการผลิตพลับและ ลิ้นจี่เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังจัดให้มีบ้านพักรับรอง บ้านพักคนงาน โรงเรือนเพาะชำไม้ดอกไม้ประดับกระถาง


สวนสองแสน

ทิวทัศน์บริเวณ สวนสองแสน สถานีวิจัยดอยปุย

สวนบุญรอด

ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 สวนนี้มีพื้นที่ 25 ไร่อยู่ติดกับหมู่บ้านม้ง ดอยปุย โดยได้รับการบริจาคจากบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เดิมมีการปลูกไม้ผลยืนต้นต่างๆ เช่น บ๊วย ลิ้นจี่ และสาลีปัจจุบัน วางแผนผังแปลงใหม่เพื่อปลูกพลับสำหรับงานวิจัยและงานหารายได้ของสถานีต่อไป